|
 |

ความเป็นมา
วัดศีรษะทอง เดิมชื่อ วัดหัวทอง สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
ตามพระราชกิจจานุเบกษาประกาศตั้งวัดเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๓๕๘ ขอวิสุงคามสีมา
ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่
๑ นั้นได้ อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานครและได้อพยพชาวเวียงจันทน์มาตั้งหลักแหล่งอยู่หลายที่ด้วยกัน
เช่นริมแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) ฝั่งตะวันตก ที่วัดกลางคูเวียงที่คลองบ้านกล้วย
อีกกลุ่มหนึ่งมาปักหลักเลยแม่น้ำท่าจีนออกไปบริเวณตำบลห้วยตะโกปัจจุบันและได้ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นเรียกว่าหมู่บ้านหัวทอง
เนื่องจากขุดพบเศียรพระเป็นทอง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี เมื่ออยู่เป็นชุมชนใหญ่จึงได้คิดสร้างวัดขึ้น
กาลต่อมาทางการได้ทำการขุดคลองจากแม่น้ำท่าจีน
(แม่น้ำนครชัยศรี) ที่ตลาดต้นสน เพื่อเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์
ประชาชนจึงได้ย้ยมาอยู่ริมคลองเจดีย์บูชาและได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลศีราะทอง
ในการนี้ได้ย้ายวัดมาด้วยเพื่อสะดวกต่อการสัญจร และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศีรษะทอง
จะถึงปัจจุบัน วัดศีรษะทอง นับว่าเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอนครชัยศรี
จังหวัดนครปฐม มีทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นวัดที่ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรายของดาราศาสตร์
โหราศาสตร์ และสมุนไพรมาตั้งแต่อดีต
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา
ยุคที่มีการสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรก ตามพระราชกิจจานุเบกษา
ประกาศตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๕๘ ขอวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่
๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ เป็นวัดที่มีประวัติอันยาวนาน เป็นศูนย์รวมของชาวลาวเวียงจันทน์และชุมชนใกล้เคียง
แรกเริ่มบริเวณวัดศีรษะทองเป็นป่ารกร้างไม่มีผู้คนอาศัยทำมาหากิน เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งน้ำสมัยนั้นยังไม่มีคำว่า
ศีรษะทอง ต่อมาชาวลาวเวียงจันทน์ได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย บางพวกอยู่แถวบ้านกล้วย
อีกพวกอาศัยอยู่ลึกกว่าพวกอื่น ๆ คือ พวกที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลศีรษะทองในปัจจุบันนี้พวกเขาหักร้างถางป่าสร้างชุมชนขึ้น
เมื่อมั่นคงแล้วจึงสร้างวัดในตอนขุดดินเพื่อสร้างวัดก็พบเศียรพระพุทธรูป
เป็นทองจมดินอยู่ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีจึงตั้งชื่อว่า วัดหัวทอง และเปลี่ยนมาเป็น
ศีรษะทอง
เจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงพ่อไต ซึ่งเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาตั้งต้นจากวัดเล็กจนกลายเป็นวัดใหญ่ที่มีเจ้าอาวาส
สืบต่อกันหลายรูป จนถึงหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ ซึ่งเป็นพระที่ฟื้นฟูพระราหูขึ้นมาจนโด่งดัง
ในเวลาต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชาซึ่งทางตอนใต้ของวัดหัวทอง (ศีรษะทอง)
ชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่ใกล้คลองด้วยจนถึงปัจจุบัน และต่อมาหลวงพ่อน้อย
นาวารัตน์ ก็เปลี่ยนชื่อวัดหัวทองมาเป็นวัดศีรษะทอง และต่อมาก็ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลตามชื่อวัด
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูวินัยธรมานิตย์ ติสาโร ต่อมามีการสร้างโรงเรียนประชาบาล
คือโรงเรียนวัดศีระทอง (น้อยชม ประชานุกูล) เปิดทำการสอนเมื่อวันที่
๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในระดับชั้น ป.๑ ป.๔ ต่อมาได้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาส
สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.๓) |
|
|