|
ตำนานพระราหู ในวันเดือนดับ เดือนแห่งฮิยาร์อาทิตย์อับอายหายไปกลางวัน อังคารเทพสงครามข่มแสง ตำนานความเชื่อที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติของมนุษย์หลายๆเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความกลัวสำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาหลายวัฒนธรรมต่างแปลความคล้ายๆกัน ตำนานมักเล่าขานถึงสัตว์ร้ายในท้องฟ้ามาเขมือบกินดวงอาทิตย์เป็นอาหาร ชาวจีนเชื่อว่ามีมังกรยักษ์กลืนกินดวงอาทิตย์ ภาษาจีนกลาง คำว่า ชี่ คือ กลืนกิน ชาวกรีกและโรมัน ก็มีความเชื่อว่ามีงูยักษ์มากลืนกินเช่นกัน สัญลักษณ์หนึ่งที่ปรากฏแสดงตำแหน่งที่เกิด ปรากฏการณ์ก็ใช้อักษรกรีก โอเมกา แนวคิดเรื่องสัตว์ประหลาดกลืนกินดวงอาทิตย์ถูกตีความไปต่างๆนานา เช่น ในไซบีเรีย เชื่อว่าสัตว์ประหลาดที่กลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือผีดิบ ในเซอร์เบียเชื่อว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ในเวียดนามเชื่อว่าเป็นกบยักษ์ ส่วนปารากวัย และอาร์เจนตินา เชื่อว่าเป็นเสือจากัวร์ ในโบลิเวียเชื่อว่าเป็นสุนัขยักษ์ สำหรับตำนานความเชื่อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุปราคาก็คือ ตำนานที่เกี่ยวกับยักษ์ราหูกลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันเป็นตำนานความเชื่อในแถบเอเชีย คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นตำนานเล่าขานที่มีรากฐานมาจากมหากาพย์ มหาภารตะมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดีย cพระราหู ทรงเป็นพระนามในเทพเจ้าผู้มีศักดานุภาพศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่ โด่งดังที่สุดในปัจจุบันนี้ ประวัติความเป็นมาของพระราหู มีลักษณะพิเศษอยู่ 2 ประการ 1. พระราหูในพระพุทธศาสนา 2. พระราหู เทวกำเนิดของพระราหูในลัทธิไสยศาสตร์ของศาสนาพราหมณ์
1. พระราหูในพระพุทธศาสนา ผู้ทรงพระนามว่า อสุรินทราหู ผู้จักมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตทรงพระนามว่า พระนารทะสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามความในคัมภีร์อนาคตวงศ์ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยมหามงกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปราชญ์ผู้รู้ในพระศาสนาโบราณจารย์ทั้งหลายมีติตรงกันหลายร้อยปีแล้วว่า พระราหูในศาสนาฮินดู พราหมณ์ เป็นพระราหูองค์เดียวกันกับ อสุรินทราหู ในพระพุทธศาสนา จะแตกกันเฉพาะประวัติความเป็นมาเท่านั้น ที่ทางศาสนาพราหมณ์แต่งเป็นเรื่องพิสดารพันลึกตามรูปแบบของแขกอินเดีย ซึ่งทางพระพุทธศาสนาจะไม่มีอย่างนั้นเลย พระพุทธศาสนาจะบอกแต่เพียงว่า พระสารีบุตรทูลถามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในกับน์อื่นจะมีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าอำนวยบทหรือพระเจ้าข้า พระบรมศาสดา ตรัสตอบว่า ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้เจริญเมื่อศาสนาของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ธรรมสารี ล่วงไปแล้ว เมื่อสารดับล่วงไปแล้ว กัปหนึ่งๆชื่อลักขกัป เกิดเป็นสุญญกัป เมื่อลักษะกัปหนึ่งล่วงไปแล้ว มัณฑกัปได้เกิดขึ้นแล้วในกัปนั้นมี พระพุทธเจ้า เสด็จ อุบัติ 2 พระองค์ คือ พระนารทะพุทธเจ้า 1 อสุรินทราหู จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ก่อนพระพุทธเจ้ารังสีมุนี พระนารทะพุทธเจ้า ทรงมีพระวรกาย สูง 120 ศอก แสงสว่างจำนวนหนึ่งเป็นแสงสว่างพุทธรังสี ได้เป็น เช่น ดอกปทุมทีเดียวพระพุทธองค์ ทรงมีพระชนมายุ 1 หมื่นปี มีต้นไม้จันทร์เป็นไม้ตรัสรู้ รส 7 ประการ ได้เกิดขึ้นในสกลปฐะพีมหาชนทั้งปวงบริโภครสปฐพีเลี้ยงชีพ ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญ พระนารทะพระพุทธเจ้าได้ให้ทานอะไรจึงได้มหาสมบัติเห็นปานนี้ ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญ พระนารทะพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีพระบารมีข้อหนึ่งที่ปรากฏแก่กล้าจึงทรงได้มหาสมบัติเห็นปานนี้ ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์(อดีตชาติของนารทะพุทธเจ้า)ได้เสด็จอุบัติเป็นพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า สิริคุตมีพระนคร ชื่อ นิรมลนคร พระองค์ทรงมีมหาเทวี ทรงพระนามว่า ลัมพุสสาเทวี พระราชาทรงมีพระโอรสและพระธิดา 2 พระองค์ พระโอรสทรงพระนามว่า นิโครธะกุมาร พระธิดา ทรงพระนามว่า โคตมี วันหนึ่ง พราหมณ์ 8 คน มาเฝ้าพระราชาสิริคุต ถวายสดุดี พระราชาด้วยเสียงกึกก้อง แล้วทูลขอพระนครนิรมลนคร พระราชาสิริคุตทรงโสมนัสปิติยินดี พระราชทานพระนครแก่พราหมณ์ 8 จากนั้นพระราชาทรงพาพระราชโอรส พระธิดา และพระเทวี เสด็จออกจากพระนครเข้าไปในป่าพนาสนต์ สร้างอาศรมบนพระธรรมิกบรรพต ทรงรักษาศีลทั้ง 4 พระองค์ อยู่ ณ อาศรมนั้น ในกาลนั้น มียักษ์ตนหนึ่ง มีร่างกายสูง 120 ศอก ออกจากป่ามาปรากฎในที่เฉพาะพระพักตร์ของ 4 พระองค์ ยักษ์ได้กล่าวว่า ข้าแต่มหาราชา ข้าพระองค์ เป็นยักษ์รักษาป่า ดื่มกินเลือด กินเนื้อยังชีพ วันนี้ข้าพระองค์กินช้าง 7 ตัว ม้า 14 ตัว เนื้อ 20 ตัว ไม่สามารถหักห้ามความหิวกระหายไว้ได้ ข้าแต่มหาราชบัดนี้ข้าพระองค์มาที่นี่เพื่อทูลขอพระโอรส และพระธิดา ทั้ง 2 พระองค์ ถ้าพระองค์ทรงขอพระราชทานพระโอรส และพระราชธิดาแก่ข้าพระองค์แล้วไซร้พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต ในกาลนั้นพระราชาสิริคุตทรงสดับถ้อยคำของยักษ์ตนนั้นแล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ผู้มีหน้างาม ผู้เจริญ เราเลี้ยงพระโอรสพระธิดาทั้ง 2 ไว้เพื่อให้ทาน บัดนี้เจ้ามาที่นี่เพื่อขอกุมารทั้ง 2 นี้ เราจักให้พระโอรสพระธิดาทั้ง 2 แก่เจ้า ตรัสแล้วเสด็จลุกขึ้นจูงพระโอรส พระธิดา ไปทรงใช้พระหัตถ์ข้างขวาถือคนโทน้ำ ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ผู้เจริญ ท่านจงมาสู่สำนักเรา ตรัสแล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกในการให้ทาน พระองค์ทรงชี้ที่ปฐพี(แผ่นดิน) และหมู่เทวดาให้เป็นพยานพระองค์ได้ตั้งความปรารถนาว่า ดูก่อนปฐพี และหมู่เทวดาผู้เจริญทั้งหลาย จงมาเป็นพยานให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด พระสัพพัญญุตญาณ เท่านั้น เป็นที่รักยิ่งของข้าพเจ้ายิ่งกว่าบุตรธิดาด้วยผลแห่งการให้บุตรธิดาอันเป็นที่รักนี้ เราไม่ต้องการจักรพรรดิ ไม่ต้องการสมบัติ ไม่ต้องการอินทรสมบัติ มารสมบัติก็ไม่ต้องการ พรหมสมบัติก็ไม่เอา ประเทศชาติราชบัลลังก์ ก็ไม่ต้องการ แต่เราต้องการสัพพัญญุตญาณสมบัติเท่านั้น ขอการให้บุตรและธิดานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งสัพพัญญุตญาณเถิด เมื่อพระราชาสิริคุต ตั้งความปรารถนาสิ้นสุดลง พลันพื้นปฐพีได้สะท้านสะเทือนไหว มหาสมุทรสาครก็กระเพื่อมเป็นคลื่นยักษ์มโหฬาร กระฉอกกระฉาน ขุนเขาสิเนรุราชได้โน้มยอดลงสู่ธรรมิกบรรพต เปรียบประดุจดังยอดหวายอ่อนลงเพราะถูกลนด้วยไฟ พายุฝนก็ดังกระหึ่มกึกก้องให้ฝนตกกระหน่ำลงมา สายฟ้าไม่ใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบปลาบสว่างไสวน่าสะพรึงกลัว ท้าวสักกะเทวราชทรงเป่าสังข์วิชยุตตระ ท้าวมหาพรหมทรงปรบพระหัตถ์ เทวดาทุกหมู่เหล่าพากันสาธุการกึกก้องกังวาน ล้วนเกิดอัศจรรย์เป็นอันมาก พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ปรากฎการณ์ มหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น พระอินทร์ พระพรหม ภุมมะเทวดา อากาศเทวดา รุกขเทวดา โสมเทวดา พระยม ท้าวเวสสุวัณ ได้พร้อมกันยกย่องพระราชาผู้ทรงคุณประเสริฐของนรชน ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญในกาลนั้น ยักษ์ได้พา 2 กุมาร พระโอรส พระธิดา ไปด้านหลังบรรณศาลา เอาฟันกัดคอ 2 กุมาร ดื่มดินเลือดเคี้ยวเนื้อกินอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตแล้วพระองค์ราชาสิริคุตทอดพระเนตรเห็นพระโอรส พระธิดา ถูกยักษ์เคี้ยวกินอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตแล้วพระองค์ไม่ทรงหวั่นไหวพระทัยเลย ทรงชมเชยการให้ทานของพระองค์ว่า ข้าแต่หมู่เทวดาผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานของเราประเสริฐแท้ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญด้วยผลแห่งการให้กุมารทั้ง 2 เป็นทานมหาชนทุกจำพวกจะบังเกิดความสวยงามแห่งรูปและด้วยผลที่ยักษ์ตนนั้นได้เคี้ยวกิน 2 กุมาร พระองค์ตรงพระพักตร์ พระราชาสิริคุต แสงสว่างแห่งพุทธรัศมีจะบังเกิดตลอกกาลเป็นนิตย์ ทั้งกลางวัน และกลางคืน ดูกรพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เจริญมหาชนทุกจำพวกไม่ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาของตถาคต ไม่ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ คือ
ในอนาคต ของท่านทั้งหลายจงตั้งวามปรารถนาบรรลุมรรคผลในศาสนาของ อสุรินทราหูราชนารกะสัมมาสัมพุทธเจ้า เถิด
คัมภีร์อนาคตวงศ์ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยวงศ์ของพระพุทธเจ้าจะมีพระโพธิสัตว์มาตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต 10 พระองค์ คือ
พุทธดำรัส ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จันทิมสูตร พระผู้มีพระพระภาคเจ้าประทับ กรุงสาวัตถี สมัยนั้นจันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแต่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหูท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์โลก ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุริทราหูด้วยคาถาว่า ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ อสุรินทราหูกล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยพระคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข
อรรถกถาจันทิมสูตร พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสูตรที่ 9 ต่อไป บทว่า จนฺทิมา คือ เทพบุตรผู้สถิตอยู่ ณ จันทรวิมาน บทว่า สพฺพธิ ได้แก่ ในขันธ์อายตนะ เป็นต้นทั้งหมด บทว่า โลกานุกมฺปกา ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์ทั้งท่าน ทั้งจันทรเทพบุตร เช่นเดียวกัน บทว่า สนฺตรมาโน ได้แก่ ดุจรีบด่วน คำว่า ปมุญฺจสิ เป็นปัจจุบันกาลลงในอรรถอดีตกาล จบอรรถกถาจันทิมสูตรที่ 9 สุริยสูตร สมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นสุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถา สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสงกระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ด้วยคาถาว่า ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่งรีบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ อสุรินทราหู กล่าวว่า ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศรีษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข จบสุริยสูตร จบ วรรคที่ 1
อรรถกถาสุริยสูตร พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ 10 ต่อไป บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุวิญาณ บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องแสง บทว่า มณฺฑลี ได้แก่มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนิตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย ถามว่าก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ ตอบว่ากลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมีอัตภาพใหญ่ ว่าด้วยส่วนสูง สูงถึง 4,800 โยชน์ ช่วงแขนยาว 1,200 โยชน์ ว่าด้วยส่วนหนา 600 โยชน์ ศีรษะ 900 โยชน์ หน้าผาก 300 โยชน์ ระหว่างคิ้ว 50 โยชน์ คิ้ว 200 โยชน์ ปาก 200 โยชน์ จมูก 300 โยชน์ ขอบปากลึก 300 โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา 200 โยชน์ ข้อนิ้ว 15 โยชน์ ราหูนั้นแลเห็นจันทระและสุริยะ ส่องว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่วิถีวงโคจรของจันทระและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่ จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็นประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก 300 โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมานถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้มเหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชะลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมานนั้น น้อมเข้ามา เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน บทว่า ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือ จันทระและสุริยะ บรรลุโสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชํ มม อธิบายว่า นั่นเป็นบุตรของเรา จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ 10 จบวรรคที่ 1
ตำนานอุปราคา ในวันเดือนดับ เดือนแห่งฮิยาร์อาทิตย์อับอาย หายไปในกลางวัน อังคารเทพสงครามหาญข่มแสง เป็นบันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับสุริยุปราคา เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1375 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบที่เมือง ยูการิต ในอาณาจักรโบราณเมโสโปเตเมีย ตำนานความเชื่อที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติของมนุษย์หลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความกลัว สำหรับปรากฎการณ์สุริยุปราคาหลายวัฒนธรรมต่างแปลความคล้ายๆกัน ตำนานมักเล่าขานถึงสัตว์ร้ายในท้องฟ้ามาเขมือบกินดวงอาทิตย์เป็นอาหาร ชาวจีนเชื่อว่ามีมังกรยักษ์กลืนกินดวงอาทิตย์ ภาษาจีนกลาง คำว่า ชี่ คือ กลืนกิน ชาวกรีกและโรมัน ก็มีความเชื่อว่ามีงูยักษ์มากลืนกินเช่นกัน สัญลักษณ์หนึ่งที่ปรากฎแสดงตำแหน่งที่เกิดปรากฎการณ์ก็ใช้อักษรกรีก โอเมกา แนวคิดเรื่องสัตว์ประหลาดกลืนกินดวงอาทิตย์ถูกตีความไปต่างๆนานา เช่น ในไซบีเรีย เชื่อว่าสัตว์ประหลาดที่กลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือผีดิบ ในเซอร์เบียเชื่อว่าเป็นมนุษย์หมาป่า ในเวียดนามเชื่อว่าเป็นกบยักษ์ ส่วนปารากวัย และอาร์เจนตินา เชื่อว่าเป็นเสือจากัวร์ ในโบลิเวียเชื่อว่าเป็นสุนัขยักษ์ สำหรับตำนานความเชื่อที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุปราคาก็คือ ตำนานที่เกี่ยวกับยักษ์ราหูกลืนกินดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันเป็นตำนานความเชื่อในแถบเอเชีย คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นตำนานเล่าขานที่มีรากฐานมาจากมหากาพย์ มหาภารตะมหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดีย ตำนานมีว่ายักษ์ราหูเกิดความอิจฉาความเป็นอมตะของเทวดา จึงแปลงกายเป็นนางสนมคอยรินน้ำอมฤตให้แก่เทวดาบนสรวงสวรรค์ ขณะที่เหล่าเทวดากำลังรื่นรมย์ ยักษ์ราหูก็ถือโอกาสกระดกน้ำอมฤตเข้าปากตนเองอย่างว่องไว แต่ก็ไม่พ้นสายตาของพระอาทิตย์กับพระจันทร์จึงนำความไปฟ้องพระวิษณุ พระองค์จึงใช้จักรของพระองค์ตัดคอยักษ์ราหูทันที แต่เนื่องจากยักษ์ราหูได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแล้ว ส่วนศรีษะจึงเป็นอมตะส่วนร่างกายที่เหลือเท่านั้นที่ตายไป ยักษ์ราหูโกรธแค้นพระอาทิตย์กับพระจันทร์เป็นอันมาก จึงพยายามไล่กัดกินพระอาทิตย์กับพระจันทร์อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อยักษ์ราหูจับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้ เมื่อมันกัดกินผ่านคอที่ถูกตัดดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็โผล่ออกมาอีก เป็นเช่นนี้ร่ำไป การไล่ล่าของอสูรราหูที่กระทำต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ จึงเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ราหูอมดวงอาทิตย์ คือ สุริยคราส ราหูอมจันทร์ คือ จันทรคราส ซึ่งคำว่า คราส ก็แปลว่า กิน นั่นเอง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ในปี ค.ศ.569 ปีที่ชาวมุสลิมเรียกว่า ปีช้าง เพราะเป็นปีที่เกิดเหตุประหลาด คือขณะที่ชาวอะบิสซีเนียขี่ช้างโจมตีกองทัพ ฝูงนกได้ถ่ายมูลใส่ ทำให้เกิดโรคระบาดจนกองทัพต้องล่าถอยไป และเป็นปีที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อีกครั้งหนึ่ง คือ วันที่ 22 มกราคม ค.ศ.632 เกิดสุริยุปราคาวงแหวนก็ให้บังเอิญตรงกับวันจบชีวิตของอิบราฮิม บุตรชายของมูฮัมหมัด และครั้งที่3 คือ 39 ปี หลังจากมูฮัมหมัดเสียชีวิต บุตรชายของเขาชื่อ มูอะไวยา เป็นผู้นำยึดอำนาจขับไล่อาลี บุตรเขยของเขา และตัดสินใจย้ายแท่นหินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาตั้งอยู่ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรียในปัจจุบัน ครั้งนั้นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงท้องฟ้ามืดสนิทลงทันที เหมือนเป็นสัญญาณแสดงความไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้ทุกวันนี้แท่นหินบูชาในศาสนาอิสลามยังคงตั้งอยู่ที่เดิม
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคราส จีนเป็นชาติที่เก่าแก่ชาติหนึ่งได้เขียนบรรยายเกี่ยวกับเรื่องคราสไว้ประมาณ 4000 ปีเศษมาแล้ว โดยมีหลักฐานอยู่ในหนังสือวรรณคดีซูจิงฉบับราชสำนัก ซึ่งได้กล่าวถึงสุริยุปราคาสรพพคราสครั้งสำคัญในยุคนั้น อันยังผลให้เกิดคราส ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ในชั้นหลังๆในพระราชสำนักกรุงจีนสมัยนั้น มีนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ชั้นเยี่ยมประจำราชสำนักอยู่สองท่าน คือท่านไหและท่านโห จะเป็นด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม ปราชญ์ทั้งสองท่านมิได้กราบทูลให้พระเจ้าจุ๊งคั้งทรงทราบไว้ก่อนว่า จะมีสุริยุปราคาสรรพคราสเกิดขึ้นบนท้องฟ้าของกรุงจีน เมื่อมีสุริยุปราคาสรรพคราสเกิดขึ้นโดยที่มิได้มีผู้ใดรู้มาก่อนเลยทั่วทั้งแผ่นดิน ตลอดจนองค์ของพระเจ้าจุ๊งคั้งเอง นอกจากสัตว์นานาชนิดจะตื่นเต้นตกใจต่อปรากฎการณ์อันนี้แล้ว พวกราษฎร พ่อค้า คหบดี ขุนนางใหญ่น้อยแม้กระทั่งพระเจ้าจุ๊งคั้งก็พากันเสียขวัญไปด้วยพิธีการต่างๆ ที่ได้เคยกระทำเกี่ยวกับการปรากฎการณ์เช่นนี้จึงทำไม่ทัน พระเจ้าจุ๊งคั้งทรงพิโรธมาก ถึงกับทรงรับสั่งให้ตัดศรีษะของท่านไหและท่านโห แล้วเอาศรีษะทั้งสองเสียบไม้ไว้ในเวลาเกิดคราสนั้นเอง การกระทำโดยเอาชีวิตมนุษย์ทำยัญพลีเส้นไหว้เทพดาแบบนี้เรียกว่าพิธี นรเมธ ยังผลให้คราสครั้งนี่กลายเป็นคราสประวัติศาสตร์ขึ้น สำหรับสุริยุปราคาสรรพคราสครั้งนี้ มีนักดาราศาสตร์คำนวณไว้ว่า เป็นคราสเกิดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2137 ปีก่อนคริสตศักราช หรือประมาณ 1594 ปีก่อนพุทธกาล ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคราสที่สำคัญ และเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ทั่วไปในสมัยกรีก มีชื่อว่า Eclipse of Thales (อีคลิปส์ ออฟ เทเลส)หรือคราสของเทเลส เทเลสเป็นชาวกรีก มีเชื้อสายโฟนิเซียน เกิดในตระกูลขุนนางในปี 640 ก่อนคริสตศักราช มีอายุ 94 ปี ได้ไปศึกษาวิชาความรู้มาจากพวกพระในอิยิปต์และได้ฝึกฝนตัวเองจนมีความเก่งกล้าสามารถในวิชาคำนวณ เฉพาะอย่างยิ่งในสาขายีออเมตตรี นอกจากนั้นยังเป็นนักปรัชญาและมีความรู้ดียิ่งเกี่ยวกับดาราศาสตร์และโหราศาสตร์นับเป็นเพชรสำคัญเม็ดหนึ่งของเพชรทั้งเจ็ดในสมัยนั้น เทเลสได้คำนวณและทำนายไว้ว่า จะเกิดสุริยุปราคาสรรพคราส ซึ่งจะนำผลดีมาให้แก่บ้านเมืองเป็นอันมาก ในระหว่างนั้นได้มีสงครามใหญ่เกิดขึ้นระหว่างพวก Lydians (ไลเตียนส์) และพวก Medes (เมเดส) การสงครามได้ดำเนินติดกันมาเป็นระยะ 5 ปี โดยผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะตลอดเวลา บางครั้งต้องำทการรบอย่างหนักติดต่อกันทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาหลายวัน ผู้คนต่างก็ล้มตายกันไปฝ่ายละไม่น้อย เมื่อการรบย่างเข้าปีที่ 6 ในตอนบ่ายวันหนึ่งได้เกิดสุริยุปราคาสรรพคราสขึ้นโดยที่ไม่มีใครรู้มาก่อน ทหารทั้งสองฝ่ายซึ่งกำลังทำการสู้รบกันได้หยุดชะงักลงทันที เพราะทหารตลอดจนแม่ทัพนายกองทั้งสองฝ่ายต่างพากันขวัญเสียไปตามๆกัน และความสงบก็ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้น คราสอาทิตย์ครั้งนี้มีผู้คำนวณไว้ว่าตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 585 ปีก่อนคริสตศักราช หรือประมาณ 42 ปีก่อนพุทธกาล เมื่อเหตุการณ์มากลับกลายจากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ทำให้การทำนายของเทเลสเป็นที่เลื่องลือปรากฎมาตราบเท่าจนถึงทุกวันนี้ และสำหรับคราสครั้งนี้จึงมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า คราสของเทเลส นอกจากนี้ยังมีคราสที่เป็นประวัติศาสตร์อีกหลายครั้งหลายหนรวมทั้งคราสที่เกะาจานในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามตัวอน่างของคราสประวัติศาสตร์ที่อ้างมานี้แดสงให้เห็นว่าผลของคราสนั้นมีทั้งการให้คุณและการให็โทษ เพราะฉะนั้นเรื่องผลของคราสนี้ จึงต้องศึกษาเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่งโดยที่ต้องหาข้อมูลและรวบรวมขึ้นใหม่ เพราะในตำราเดิมหวงแหนกันมาก และบอกผลไว้เพียงเป็นข้อคิดกว้างๆเท่านั้น สุริยุปราคา แตกต่างจากจันทรุปราคา อย่างไร? สุริยุปราคา เกิดในช่วงจันทร์ดับ(อมาวลี) ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์กันแสงอาทิตย์จนมืดมิด เกิดในเวลากลางวัน จันทรุปราคา เกิดในช่วงจันทร์เพ็ญ(ปูรณมี) ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ทำให้ดวงจันทร์มืดมิดลง เกิดในเวลากลางวัน ปกติสุริยุปราคา เกิดมากกว่าจันทรุปราคาในอัตรา 3 ต่อ 2 ความสำคัญของคราสอาทิตย์ เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปแล้วว่า คราสของดวงอาทิตย์จะต้องเกิดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำหรือในวันอมาวลี คือดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จะอยู่ร่วมกัน เป็นจุดเดียวกัน ณ เส้นระวิมรรค โดยปกติในวันอมาวลีเราก็ไม่สามารถจะมองแลเห็นดวงจันทร์ได้อยู่แล้ว จึงเรียกว่าเป็นวันที่จันทร์ดับ ในทางโหราศาสตร์ถือว่าแสงสว่างจากดาวเคราะห์ต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าตำแหน่งของดาวเคราะห์เหล่านั้น ฉะนั้นในวันอมาวลีถึงแม้จะไม่เกิดคราสขึ้นเลย ก็เป็นวันไม่ดีอยูแล้วในทรรศนะโหราศาสตร์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวที่มีแสงในตัวเอง ปกติดาวเคราะห์อะไรก็ตาม เมื่อโคจรเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์ เราจะมองไม่เห็นดาวเคราะห์นั้นเลย เพราะแสงอาทิตย์ย่อมแผ่คลุมดาวเคราะห์นั้นเสียสิ้น เช่นในกรณีของดวงจันทร์เป็นต้น แต่ในบางคาบบางครั้งในวันอมาวลี ดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นสว่างจ้าอยู่กลับมืดมัวไปได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าคราสของอาทิตย์หรือ สุริยุปราคา ซึ่งหมายความว่าในขณะนั้นแม้แต่ดวงอาทิตย์ที่จัดว่าสว่างมากที่สุดยังมีโอกาสดับไปได้ชั่วขณะในเวลาคราสของดวงอาทิตย์ จึงอนุมานเอาว่าทั้งดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เกิดมาดับหมดทั้งสองดวงพร้อมกันพอดีฉะนั้นจึงถือว่าในเวลานั้นเป็นเวลาดับของดาวถึงสองดวง จึงเป็นการที่น่าจะมีอิทธิพลพิเศษอะไรอย่างมากสักประการหนึ่ง ถ้าดวงอาทิตย์ดับน้อยก็มีผลน้อย ถ้าดวงอาทิตย์ดับมากก็มีผลมาก และถ้าดวงอาทิตย์เกิดดับในเวลาประมาณเที่ยงวัน ซึ่งอยู่ ณ จุดศิโรพินทุ คือ จุดบนศีรษะของเราเข้าอีกด้วยก็ยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว อิทธิพลนี้จะให้ร้ายแก่ผู้ใดในสภาพอย่างไรต้องวิจารณ์ตามดวงชะตาของผู้นั้นเป็นรายๆไป และในบางกรณีอาจให้ผลดีแก่เจ้าชาตาก็ได้ ในหลักการของโหราศาสตร์ถือว่า คราสของดวงอาทิตย์สำคัญและรุนแรงมากที่สุด และยังถือคราสของดวงอาทิตย์ที่เกิดอยู่ ณ ตำแหน่งใกล้กับราหู(โนดขึ้น)มีอิทธิพลมากกว่าคราสอาทิตย์ที่เกิด ณ ตำแหน่งใกล้เกตุ(โนดลง) การกเดิคราสของดวงอาทิตย์เขาพิจารณาจากจุดอมาวลีของอาทิตย์และจันทร์ซึ่งเกิดคราสนั้นเป็นหลัก ซึ่งขณะนั้นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะอยู่ ณ จุดเดียวกัน เมื่อรู้จุดนี้แล้วต้องพิจารณาว่า จุดคราสหรือจุดอมาวลีที่เป็นคราสนี้ไปถูกต้องกับดาวใดๆในชาตาบ้าง มีผลการทำนายร้ายหรือดีตามลักษณะของดวงแต่ละดวง ที่ถือว่าสำคัญที่สุดก็คือในเมื่อจุดคราสของอาทิตย์ทับลัคนา ทับอาทิตย์ หรือเล็งลัคนา เล็งอาทิตย์ในดวงชาตาเดิม การที่ถือเช่นนี้เพราะว่าจุดคราสอยู่ที่เส้นระวิมรรคเป็นของตายแล้ว ส่วนในดวงชาตาไม่ว่าจะเป็นของผู้ใด จุดลัคนาและตำแหน่งดวงอาทิตย์ก็จะอยู่ ณ เส้นระวิมรรคเป็นของตายตัวเช่นเดียวกันฉะนั้นจุดคราสนี้ถ้าทับลัคนาหรือทับอาทิตย์ในดวงชาตาเดิม ก็หมายความว่าจะทับและเล็งจุดนั้นจริงๆ จึงมีอิทธิพลกับเจ้าชาตามาก ส่วนในการที่จุดคราสทับหรือเล็งกับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในชาตา จะมีอิทธิพลมากหรือน้อยแล้วแต่ดาวเคราะห์นั้นๆ จะอยู่ใกล้เส้นระวิมรรคเพียงใด ฉะนั้นถ้าดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ ฯลฯ ในชาตาเดิมไม่ได้อยู่ที่เส้นระวิมรรคเลย แม้จุดคราสจะถูกตำแหน่งของดาวเหล่านี้ก็จะไม่มีผลในการทำนายมากนักการที่จะรู้ว่าดาวเคราะห์ต่างๆในดวงชาตาเดิมจะอยู่ ณ เส้นระวิมรรคหรือไม่นั้นเป็นของไม่ยากอะไร แต่ต้องขึ้นครูกันเสียก่อน เพราะเข้าตำราเส้นผมบังภูเขาเหมือนกัน
ความสำคัญของคราสจันทร์ ในการเกิดคราสของดวงจันทร์ ซึ่งจะต้องเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันเพ็ญดวงจันทร์ซึ่งกำลังสว่างอยู่จะมืดมัวไปชั่วขณะหนึ่ง จะเห็นได้ว่าขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเล็งกับดวงจันทร์ การเกิดคราสจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่ได้ดับด้วย โดยปกติทางโหราศาสตร์ถือว่า จันทร์เพ็ญเป็นจันทร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด และมักให้คุณมากกว่าให้โทษ ในกรณีของคราสจันทร์จึงให้โทษมากกว่าให้คุณ ในการพิจารณาคราสจันทร์ จะต้องรู้จุดปูรณมีของดวงจันทร์ที่เกิดคราสว่า ในขณะนั้นจุดคราสของจันทร์นี้จะตกต้องร่วมหรือเล็งกับดาวอะไรในดวงชาตาบ้างโดยใช้หลักการเช่นเดียวกันกับคราสของอาทิตย์ แต่ในกรณีของคราสจันทร์มักไม่รุนแรงเท่ากับคราสของอาทิตย์ และส่วนมากพากันเชื่อถือว่าคราสจันทร์ซึ่งดวงจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้กับเกตุ(โนดลง) จะมีเหตุการณ์รุนแรงกว่าคราสจันทร์ซึ่งดวงจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้กับราหู(โนดขึ้น) อย่างไรก็ตามเมื่อเราทราบดวงชาตาของเราแล้ว เราควรตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้ดูว่า เฉพาะใดวงชาตาของเราเอง คราสอะไร คราสตรงไหนจึงจะมีความสำคัญที่สุด
สุริยุปราคาเต็มดวง 5 ครั้งในไทยที่สำคัญ ในช่วงเวลา 127 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2411-2538 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทยที่สำคัญ มีอยู่ 5 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อ พ.ศ.2411 พ.ศ.2418 พ.ศ.2472 พ.ศ.2498 พ.ศ.2538 สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2411 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกซึ่งปรากฎหลักฐานการสังเกตในประเทศไทย พระองค์ทรงคำนวณตำแหน่งปรากฎที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 สุริยุปราคาจับคราสเต็มดวงนานถึง 6 นาที 45 วินาที คราสครั้งนี้มีคณะดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส และคณะของเซอร์แฮรี่ เซ็นต์ยอชอร์ตผู้ว่าราชการสิงคโปร์ เดินทางเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ บริเวณหว้ากอด้วยเช่นกัน ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 วันนั้นท้องฟ้ามีเมฆหนาทึบ ผู้สังเกตไม่สามารถเห็นสัมผัสแรกของสุริยุปราคาได้ เมฆมาจางหายไปตอนที่พระอาทิตย์ถูกบังไปบ้างแล้ว และท้องฟ้าเริ่มดีขึ้น ทำให้เป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงชัดเจน จากนั้นเมฆก็มาปกคลุมอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ไม่เห็นสัมผัสสุดท้ายก่อนที่ดวงอาทิตย์จะสว่างเต็มดวง เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่คนทั่วไปเป็นอันมาก 1.สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สุริยุปราคาของโลกทีเดียว เพราะนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องสเปกโตรสโคป ศึกษาโคโรนาจากดวงอาทิตย์ และทำให้ค้นพบธาตุฮีเลียม ขณะเดียวกันความพิเศษของสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ก็คือ มีพวยแก๊สขนาดใหญ่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เห็นชัดเจน เป็นพวยแก๊สใหญ่ที่ถูกขนานนามว่า The Great Horn หรือเขาสัตว์ใหญ่นั่นเอง สำหรับพสกนิกรชาวไทย คราสครั้งนี้ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์ไทยพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย และทางรัฐบาลได้จัดสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ขึ้น ณ ตำบลหว้ากอ เพื่อรำลึกถึงพระปรีชาสามารถในวงการดาราศาสตร์ของพระองค์ท่านด้วย 2.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ.2418 ปรากฏขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 ในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พาดผ่านบริเวณแหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี เวลาจับคราสนาน 4.7 นาที ในครั้งนี้ไทยได้ต้อนรับคณะนักดาราศาสตร์จากอังกฤษ ที่เดินทางมาสร้างหอสังเกตการณ์สุริยุปราคา สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้จากการสืบค้นเอกสารโบราณยังไม่พบข้อมูลหรือภาพถ่ายมากเท่ากับสุริยุปราคาเต็มดวงสมัยรัชกาลที่ 4 แต่จากเอกสารบางชิ้นระบุว่า ผู้ที่ได้เคยเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2411 แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับสุริยุปราคา พ.ศ. 2418 ลงความเห็นพ้องกันว่าสุริยุปราคา พ.ศ. 2411 มืดมัวกว่ามาก เมื่อเกิดสุริยุปราคา พ.ศ. 2418 เวลาคราสจับเต็มดวง เห็นดาวไม่ถึง 4 ดวง สภาพท้องฟ้าปกคลุมด้วยหมอก ไม่มีเมฆ ทำให้เห็นแสงโคโรนาสว่างชัดดีกว่าครั้งก่อน สว่างเท่าๆกับพระจันทร์วันเพ็ญเป็นที่น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถหาภาพถ่ายสุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2418 พบ พบเพียงภาพวาดลายเส้น แสดงโคโรนา ของเจ้าชายทอง หรือเจ้าชายกองทองก้อนใหญ่ เท่านั้น ซึ่งกลายเป็นรูปประวัติศาสตร์ ที่บรรดานักดาราศาสตร์ต่างนำไปศึกษาเรื่องของรูปแบบของโคโรนาได้เป็นอย่างดี 3.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2472 ห่างจากการเกิดสุริยุปราคาครั้งที่แล้วอีก 54 ปี สุริยุปราคาเต็มดวงก็มาปรากฎให้เห็นเหนือฟ้าไทยอีกครั้งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 แนวทางคราสผ่านทางใต้ของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพร้อมด้วยพระราชินีไปทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จากการสืบค้นเอกสารจากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ พบภาพถ่ายเกี่ยวกับเหตุการณ์การเดินทางของคณะนักดาราศาสตร์จากเยอรมนี จากเมืองคีล มาจนถึงต.โคกโพธิ์และพระราชกรณียกิจในการเสด็จทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ค่อนข้างสมบูรณ์ สุริยุปราคาเกิดขึ้นเวลาประมาณ 12.30 น. ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าบังดวงอาทิตย์และบังมิดในเวลา 14.43 น. จับคราสอยู่นาน 5 นาที มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือทดลองทุกขั้นตอนทำให้ได้เห็นความอุตสาหพยายามของเหล่านักดาราศาสตร์ในยุคก่อน พ.ศ. 2473 ที่ยอมลงทุนเคลื่อนย้ายอุปกรณ์รอนแรมมาทางทะเล มาปักหลักสังเกตการณ์เพียงชั่วไม่กี่นาที อุปกรณ์ที่นำมานั้นมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก เหมือนมาตั้งหอสังเกตการณ์อย่างถาวรกันทีเดียว สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ อาจเป็นครั้งท้ายๆที่เราจะได้เห็นการแบกดครื่องมือหลายร้อยตันรอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลไปสังเกตตามที่ห่างไกล เพราะหลังจาก พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา ได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องรอให้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงอีกต่อไป 4.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2498 พาดผ่านประเทศไทยหลายจังหวัดบริเวณภาคกลางในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2498 จากการรวบรวมข่าวหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า ไม่มีคณะนักดาราศาสตร์ยกทีมและอุปกรณ์ใหญ่ๆเหมือนในอดีต มีเพียงคณะนักศึกษาและคณะของศาสตราจารย์ชาลส์ เอช.สไมลี แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกามีการตั้งคณะสังเกตการณ์อย่างเป็นทางการที่พระราชวังบางประอิน จ.พระนครศรีอยุธยา สุริยุปราคาเต็มดวง วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 คราสจับนานถึง 6 นาที 44 วินาที เห็นได้ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปราจีนบุรี กรุงเทพฯ ธนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี นับเป็นคราสที่ประชาชนไทยมีโอกาสเห็นกันมากที่สุดและนานที่สุดอีกด้วย 5.สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2538 ห่างจากสุริยุปราคาครั้งที่แล้วเป็นเวลา 40 ปี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 10.42-10.56 น. เริ่มต้นที่อิหร่าน ผ่านมายังอัฟกานิสถาน อินเดีย(คราสเฉียดผ่านทัชมาฮาล)บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา(คราสผ่านนครวัต)เวียตนาม และตกทะเลไป สิ้นุดที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ในไทยเห็นได้ในเวลาประมาณ 10-11 น. โดยพื้นที่ที่มีโอกาสเห็นอยู่ในแถบแคบๆ ไม่เกิน 72 กม. จุดแรกตั้งต้นที่บริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก เงาดำของคราสได้พาดผ่านต่อไปที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร อ.บรรพตพิสัย อ.ท่าตะโก อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ปักธงชัย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออก จ.บุรีรัมย์ ไปสิ้นสุดที่แห่งสุดท้าย อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ก่อนเข้าประเทศกัมพูชา เงามืดของดวงจันทร์ใช้เวลาเดินทางผ่านประเทศไทยทั้งสิ้น 15-16 นาที ระยะทางประมาณ 600 กม.
ห้ายุคใหญ่ ของสุริยุปราคาในไทย อาจารย์จรัล พิกุล หนึ่งในปรมาจารย์ทางโหราศาสตร์ยูเรเนียนเมืองไทยได้จัดยุคใหญ่ของสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งสำคัญในไทยไว้ 5 ยุค ดังนี้ 1.ยุคสยามเก่า คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 18 สิงหาคม 2411 ในรัชกาลที่ 4 2.ยุคสยามใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่แหลมเจ้าลาย จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2418 ในรัชกาลที่ 5 โหรบันทึกไว้ว่า มีสูรย์จับสิ้นดวงนกกากลับคืนรัง แลเห็นดวงดาวหลายดวง เริ่มต้นยุคสยามใหม่มีการปูพื้นฐานในการจะก้าวขึ้นสู่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการสร้างสรรค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การแพทย์ การคมนาคม การศึกษา ฯลฯ(มีการเลิกทาส) 3.เริ่มยุคใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ ต.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2472 ในรัชกาลที่ 7 ครั้งนั้นเป็นเงามืดวิ่งตัดบั้นท้ายเมืองไทยที่กรุงเทพฯเห็นสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมืองไทยก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยยุคแรก มีการพลิกผันด้านการเมือง และความไม่สงบเกิดขึ้นด้วย 4.ยุคบ้านนอกเข้ากรุง หรือยุค เมืองไทยยุคใหม่ คือสุริยุปราคาเต็มดวงที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพฯเงามืดตัดผ่านกลางเมืองไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2498 ในรัชกาลที่ 9 เป็นยุคที่เมืองไทยเข้าสู่การวิ่งไล่วัตถุนิยมตะวันตก 5.ยุคใหม่จริงๆ คือสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เป็นเงาดำพาดสะพายแล่งผ่านเมืองไทยตั้งแต่ อ.แม่สอด เรื่อยไป ผ่านหลายจังหวัด สิ้นสุดที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ในรัชกาลที่ 9 ดวงคราสครั้งนี้ จุดคราสมีราหู จันทร์ อาทิตย์ และดาวโพไซดอนอยู่ในจุดเดียวกัน เล็งดวงเมือง(ดวงวันตั้งเสาหลักเมือง)พอดี จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยอิทธิพลของสุริยุปราคาเต็มดวงที่เป็นเงาดำพาดสะพายแล่งผ่านเมืองไทย ไทยจะเข้าสู่ยุคใหม่เต็มตัว เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิภาคเอเชี่ยนได้แก่ประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม เป็นจุดที่กำลังแรงมากโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ อาจจะมีการร่วมมือกันเพื่อความแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดาจะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ซึ่งเห็นผลในช่วง 10-20 ปี(2538-2548,2549-2558)ต้องจับตาดูกันต่อไป ในเรื่องผู้ก่อการร้าย อุบัติเหตุร้ายแรง แผ่นดินไหว อุทกภัย พายุใหญ่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่นซึนามิ สังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลักษณะคราสชนิดนี้ไม่เคยปรากฎเป็นหลักฐานให้ได้ตีความเปรียบเทียบได้เลย แต่ปรากฎในปี 2538 เป็นต้นมาก็มีเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นคือ การกลับมาของกาฬโรค การระบาดของไวรัสอีโบล่า มีโรควัวบ้า มีพายุซัด น้ำทะลัก แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม สงครามปราบปรามผู้ก่อการร้าย ฯลฯ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 20-25 ของทุกเดือน จะได้รับผลมากน้อยไม่เท่ากัน บางคนเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชะตาโดยรวมของแต่ละบุคคลว่าใครจะโชคดีหรือไม่?
ผลของสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ในช่วง 75 ปี นับแต่ พ.ศ.2539 ไป โลกภายหลังคราสนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย อเมริกาจะเป็นตัวแปรสำคัญ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมของโลก มนุษย์ในโลกจะทำลายล้าง และทำร้ายกันรุนแรงมากขึ้นอุบัติเหตุร้ายแรงยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลา อาจมีความรุนแรงอย่างเฉียบพลันในส่วนต่างๆของโลก โดยเฉพาะในซีกโลกทางใต้ ตลอดจนภาคใต้ของประเทศต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ปรากฏ ให้เห็นภายหลังคราส 15 วัน,15 เดือน หรือ 15 ปี ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่ 76(พ.ศ.2613) ท่านนิด รวบรวมเรียบเรียงช่วยเพิ่มเติมข้อมูล |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัดศีรษะทอง (วัดพระราหู) ตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ติดต่อสอบถาม โทร. 034-227462 โทรสาร. 034-338226 http://www.watphrarahoo.com |